คณะบริหาร สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เรียนอะไร จบไปทำงานอะไร?

คณะบริหาร สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เรียนอะไร จบไปทำงานอะไร?

บทความ

บทความนี้จะมาตอบทุกคำถามของน้องๆ ที่สงสัยเกี่ยวกับการเรียนในคณะหรือสาขาทางด้าน “โลจิสติกส์” โลจิสติกส์ คืออะไร? เรียนยังไง เรียนที่ไหน จบไปทำงานอะไรได้บ้าง?

โลจิสติกส์ คืออะไร?

โลจิสติกส์เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง ซัพพลายเชน การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย

โลจิสติกส์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?

คณะบริหาร สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เรียนอะไร จบไปทำงานอะไร?

สำหรับคนที่เข้ามาเรียนในสาขาทางด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือสาขาของมหาวิทยาลัยที่ไหน ในเรื่องหลักสูตร จะได้เจอวิชาหลักคล้ายกัน นั่นคือ น้องๆ ปี 1 จะได้เรียนพื้นฐานวิชาทั่วไป เช่น ธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส สถิติ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น

ในปีต่อๆ มาจะได้เรียนรายวิชาเฉพาะ เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ ซัพพลายเชน เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ เป็นต้น และจากนั้นน้องๆ จะได้เรียนการสัมมนาทางโลจิสติกส์ รวมถึงการฝึกงานในชั้นปีสุดท้าย

เรียนโลจิสติกส์ จบไปทำงานอะไรได้?

คณะบริหาร สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เรียนอะไร จบไปทำงานอะไร?

หลังจากเรียนจบหลักสูตรในระดับปริญญาตรีแล้ว มาถึงเส้นทางอาชีพและการทำงานบ้าง งานด้านโลจิสติกส์และซับพลายเชน ถือเป็นอีกสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการ และนี่คือสายงานและตำแหน่งที่น้องๆ บัณฑิตสาขานี้สามารถทำได้

  1. ระดับปฏิบัติการ

เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัททางขนส่งสินค้ามากกว่า 500 แห่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก

  1. ระดับบริหาร

เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า, นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ

  1. ประกอบธุรกิจส่วนตัว

เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ

  1. รับราชการ

รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  1. งานสายวิชาการ

เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือเรียนต่อระดับสูงขึ้น

สาขานี้เต็มไปด้วยโอกาสในอนาคต โลจิสติกส์เป็นสาขาที่ทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญในการทำงานในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้น หากคุณสนใจในสายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์ การเรียนในคณะหรือสาขาโลจิสติกส์อาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ

และสำหรับน้องๆ ที่สนใจคณะโลจิสติกส์แบบออนไลน์ ที่สามารถเรียนจากที่ไหนก็ได้ ตอนไหนก็ได้ที่เราสะดวก สามารถอ่านข้อมูลหลักสูตรเทียบโอนเรียน 2 ปี และหลักสูตรปกติเรียน 3 ปี ได้ที่ https://bkkthon-admission.com/graduate/online-course/online-bachelor/

ปรึกษาการเรียนต่อปริญญาตรีได้ที่ LINE Official: @bkkthon (https://bit.ly/bkkthon-lineoa)

สมัครเรียนได้ที่ https://bkkthon-admission.com/register/