เช็คสิทธิ์ก่อนสมัครกู้ กยศ. ได้หรือไม่?

วิธีสมัครเรียน

กยศ. คืออะไร?

กยศ. หรือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 ให้เริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา

ปัจจุบัน พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรี และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น เนื่องจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2549 ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 มีการบริหารจัดการและการดำเนินการที่มีข้อจำกัด และไม่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตกำลังคนและการพัฒนาประเทศสมควรบูรณาการการบริหารจัดการและการดำเนินการของกองทุน กยศ. และกองทุน กรอ. ให้เป็นเอกภาพอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และเพิ่มมาตรการในการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คุณสมบัติพื้นฐานของผู้สมัครกู้ กยศ.

  • มีสัญชาติไทย
  • มีความประพฤติดี
  • ไม่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดมาก่อน
  • ไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานและรับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำในหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนในลักษณะเต็มเวลา (กรณีเป็นพนักงานประจำ/มีประกันสังคม จะไม่สามารถกู้ได้)
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ที่ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ที่ผิดนัดชำระหนี้กับกองทุน กยศ. (ถ้ามีหรือเคยมีเรื่องฟ้องร้องกับกองทุน กยศ./กรอ. จะไม่สามารถกู้ได้ เว้นแต่จะได้ชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้ว)
  • ไม่เป็นผู้ที่อายุเกิน 35 ปี (สำหรับกู้กยศ.)
  • ไม่เป็นผู้ที่อายุเกิน 30 ปี (สำหรับกู้กรอ.)
  • ไม่เป็นผู้ที่เคยกู้เรียนกับกองทุน กยศ./กรอ.  ในระดับปริญญาตรี ครบ 4 ปีแล้ว

โดยประเภทของผู้กู้ กยศ. ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทของการกู้ยืม

ลักษณะที่ 1 : ผู้ขาดแคลคุณทรัพย์ลักษณะที่ 2 : ผู้ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการ
1. รายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท/ ปี1. ไม่จำกัดรายได้ หากประสงค์จะกู้ยืมเงินค่าครองชีพ จะต้องมีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท / ปี
2. ศึกษาในระดับการศึกษามัธยมปลาย / ปวช./ ปวส. / อนุปริญญา /  ปริญญาตรี2. ศึกษาในสาขาวิชาการที่เป็นความต้องการหลักในระดับ ปวส. / อนุปริญญา / ปริญญาตรี 
3. อายุขณะที่ขอกู้ยืมเงิน เมื่อนับรวมกับระยะปลอดหนี้ 2 ปี และเวลาผ่อนชำระหนี้อีก 15 ปี รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี3. อายุไม่เกิน 30 ปี ในปีการศึกษาที่ยื่นคำขอกู้
4. ทำประโยชน์ต่อสังคม / สาธารณะ4. ทำประโยชน์ต่อสังคม / สาธารณะ

Tag: